ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ด้วยมหาวิทยาลัยกรุงเทพมีความมุ่งมั่นที่จะผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในทางนิติศาสตร์เพื่อออกไปรับใช้ประเทศชาติ จึงได้จัดตั้งคณะนิติศาสตร์ขึ้น โดยได้รับการอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัย ในปีพุทธศักราช 2526 ซึ่งแต่แรกเริ่มนั้นเปิดทำการเรียนการสอนภาคค่ำ เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2526 มีนักศึกษารุ่นแรกจำนวน 121 คน ต่อมาเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2529 จึงได้เปิดทำการเรียนการสอนภาคปกติรุ่นแรก

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มีความเจริญก้าวหน้ามาโดยลำดับ สามารถผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทางกฎหมายออกไปรับใช้สังคมตามความมุ่งหมายของมหาวิทยาลัย

ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่มีใช้เทคโนโลยีในการดำเนินชีวิตมากยิ่งขึ้น ทรัพย์สินทางปัญญาเข้ามามีบทบาทในชีวิตของคนในสังคม มีการเปิดการค้าเสรีแบบไร้พรมแดน มีการค้าขายระหว่างประเทศกันมากขึ้น เป็นอีกครั้งที่ความรู้ในทางกฎหมายต้องพัฒนาและก้าวตามความเปลี่ยนแปลงให้ทัน เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน ในปีการศึกษา 2548 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงได้ปรับปรุงหลักสูตรที่ทันสมัยโดยเปิดหลักสูตรปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต 2 สาขา คือ สาขากฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาและเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขากฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อมุ่งผลิตนักกฎหมายที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางให้กับภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เป็นสถาบันแห่งแรกที่เปิดทำการสอนระดับบัณฑิตศึกษาที่เน้นความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในสาขาดังกล่าว และทีมอาจารย์ผู้บรรยายเป็นนักปฏิบัติที่มีประสบการณ์เฉพาะทางทั้งสิ้น

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดสอน 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.) และหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต (น.ม.)

การศึกษาในหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตครอบคลุมเนื้อหา 4 หมวดวิชา คือ ยกฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา กฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายมหาชน

การศึกษาตลอดหลักสูตรประกอบด้วย หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ซึ่งจะทำให้นักศึกษาสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและภาษาอังกฤษเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน หมวดการศึกษาวิชากฎหมาย เป็นหมวดวิชาพื้นฐานสำคัญในการประกอบวิชาชีพกฎหมายและสามารถนำไปใช้ในการศึกษากฎหมายขั้นสูงต่อไป และ หมวดวิชาชีพ ซึ่งเป็นวิชาเลือกนั้นจะเป็นการศึกษากฎหมายเฉพาะด้าน อาทิ กฎหมายธุรกิจ กฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายมหาชน ฯลฯ ตามความสนใจของนักศึกษา ทั้งนี้ คณะนิติศาสตร์ฯ มีการพัฒนาหลักสูตรให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ

การเรียนการสอนของคณะนิติศาสตร์ฯ จะเน้นให้นักศึกษาคิดเป็นทำเป็นสามารถแก้ปัญหากฎหมายได้ด้วยตัวเอง ฝึกให้รู้จักการทำงานเป็นทีม มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษและสืบค้นข้อมูลโดยผ่านระบบคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสนับสนุนการเรียนของนักศึกษาด้วยการจัดโปรแกรมดังกล่าวทั้งในรูปแบบซีดีรอมหรือการสืบค้นผ่านระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง พร้อมกันนี้ได้จัดหาตำราเกี่ยวกับกฎหมายจากต่างประเทศที่ทันสมัยให้นักศึกษาได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เล็งเห็นถึงความสำคัญของการคุ้มครองความคิดสร้างสรรค์ จึงได้พัฒนาหลักสูตรที่จะคุ้มครองความคิดสร้างสรรค์เหล่านั้นไว้ ด้วยการเปิดหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิตทางด้านกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาและเทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านกฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศและธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อผลิตนักกฎหมายที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและสามารถใช้กฎหมายได้อย่างสร้างสรรค์

ผู้ที่จะศึกษาในหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต ต้องเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีสาขานิติศาสตร์ จากสถาบันการศึกษาในประเทศหรือต่างประเทศ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง

การศึกษาในหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิตนั้น แบ่งออกเป็น 2 แผนการศึกษา คือ แผน ก. คือ เลือกทำวิทยานิพนธ์ และ แผน ข. คือ เลือกทำสารนิพนธ์ ซึ่งทั้งสองแผนการศึกษาต้องผ่านการสอบประมวลความรอบรู้ (Comprehensive Examination) ทั้งการสอบข้อเขียนและการสอบปากเปล่า

คณาจารย์นั้น บัณฑิตวิทยาลัยได้รับความร่วมมือจากคณาจารย์พิเศษซึ่งเป็นนักวิชาการและนักกฎหมายที่มีชื่อเสียง ทั้งจากผู้พิพากษา อัยการ ทนายความ ที่ปรึกษากฎหมาย ซึ่งมีความเชี่ยวชาญพิเศษในสาขาที่เปิดสอน นอกจากนี้ยังได้เชิญผู้เชี่ยวชาญทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมาบรรยายพิเศษด้วย

ผู้สำเร็จการศึกษาจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จะได้รับการรับรองคุณวุฒิเป็นนิติศาสตรบัณฑิตจากคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน คณะกรรมการอำนวยการอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา และสภาทนายความแห่งประเทศไทย นอกจากนั้น ผู้สำเร็จการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจะได้รับรองคุณวุฒิเป็นนิติศาสตรมหาบัณฑิต ทั้งนี้ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ผ่านการรับรองการประเมินคุณภาพภายในจากคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ระดับดีมาก และการรับรองจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.) ในระดับดี

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มีความร่วมมือทางวิชาการกับองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านวิชาการ และคุณภาพการศึกษา เช่น

องค์กรทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Organization: WIPO) เป็นหนึ่งในองค์การเฉพาะทางของสหประชาชาติ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมกิจการสร้างสรรค์ และสนับสนุนการพิทักษ์ทรัพย์สินทางปัญญาทั่วโลก

สถาบันกฎหมายแห่งเอเชีย (ASIAN Law Institute: ASLI) เป็นองค์กรความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาด้านนิติศาสตร์ 12 แห่งในภูมิภาคเอเชีย เพื่อเปิดโอกาสให้มีการส่งเสริม พัฒนา และเผยแพร่องค์ความรู้ทางกฎหมายเกี่ยวกับเอเชียให้มากขึ้น โดยผ่านการเรียนการสอนและการทำวิจัยร่วมกัน

ที่ผ่านมานักศึกษาคณะนิติศาสตร์ฯ ได้เข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาการและได้รับรางวัลสร้างชื่อเสียงให้แก่คณะฯ อาทิ ชนะเลิศการแข่งขันตอบปัญหากฎหมาย จัดโดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชนะเลิศและรองชนะเลิศการแข่งขันโตเถียงกฎหมายโดยแถลงการณ์ด้วยวาจาชั้นอุทธรณ์ ซึ่งจัดโดยเนติบัณฑิตยสภา และได้รับรางวัลอื่น ๆ อีกมากมาย และคณะฯ ยังสนับสนุนให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมและสามารถสร้างชื่อเสียงได้อย่างต่อเนื่อง นับเป็นความสำเร็จของคณะนิติศาสตร์ฯ ในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญของชาติต่อไปในอนาคต

ตลอดเวลาที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ก่อตั้งและดำเนินการมานั้นได้ผลิตบัณฑิตออกไปรับใช้สังคมมากมายในหลากหลายสาขาอาชีพ เช่น

นอกจากนั้น บัณฑิตจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ยังได้เข้าทำงานในภาครัฐและเอกชน เช่น ผู้พิพากษา อัยการ ทนายความ ที่ปรึกษากฎหมาย ตำรวจ ฯลฯ

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้จัดบรรยากาศภายในมหาวิทยาลัยให้เหมาะสมกับการเรียนการสอน พร้อมทั้งอำนวยความสะดวกด้านอุปกรณ์สนับสนุนการเรียนการสอน เช่น

ศูนย์หนังสือด้านทรัพย์สินทางปัญญาของ World Intellectual Property Organization (WIPO) ประจำประเทศไทย ณ หอสมุดกลาง วิทยาเขตกล้วยน้ำไท

หอสมุดสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ วิทยาเขตกล้วยน้ำไท ที่มีความทันสมัย รองรับการค้นคว้าฐานข้อมูลที่หลากหลาย และพื้นที่การเรียนรู้ที่กว้างขวาง ห้องบรรยาย มหาวิทยาลัยได้จัดรูปแบบห้องบรรยายให้ทันสมัย ผู้เรียนและผู้สอนสามารถสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้

ฐานข้อมูลเครือข่ายทางด้านกฎหมาย เช่น www.westlaw.com www.thailandlaw9.com เป็นต้น เพื่อรองรับการค้นคว้าข้อมูลกฎหมายทั้งประเทศไทย และทั่วโลก

พื้นที่การเรียนรู้อิสระ มหาวิทยาลัยฯ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษา จึงจัดพื้นที่ที่ส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ของนักศึกษา เพื่อกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ เช่น Imagine Lounge เป็นต้น

ศูนย์กีฬา มหาวิทยาลัยฯ สนับสนุนให้นักศึกษามีความรู้ มีสติปัญญา พร้อมกับสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง จึงได้สร้างศูนย์กีฬาที่รองรับการทำกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อให้นักศึกษาสามารถออกกำลังกายได้ตามอัธยาศัย

คณะนิติศาสตร์ฯ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการให้บริการสังคมด้านกฎหมายควบคู่กับการฝึกทักษะความรู้ภาคปฏิบัติของนักศึกษา จึงได้ก่อตั้งสำนักงานช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2542 เพื่อให้บริการปรึกษาปัญหาแก่ประชาชนทั่วไปโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย และเมื่อมหาวิทยาลัยปิดภาคการศึกษา คณะฯ ได้จัดค่ายแนะนำกฎหมายแก่ประชาชนในชนบท อันเป็นบริการวิชาการเพื่อสังคมที่นักศึกษาจะได้มีโอกาสให้คำปรึกษาทางกฎหมายในสถานการณ์จริงภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของอาจารย์พร้อมคำแนะนำเพิ่มเติมในแง่มุมต่าง ๆ เพื่อเป็นการเสริมทักษะในการประกอบอาชีพ


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

แรง (ฟิสิกส์) ความยาว การเคลื่อนที่ ทฤษฎีเคออส กลศาสตร์แบบลากรางช์ เอนริโก แฟร์มี สมมาตรยิ่งยวด CERN Large Hadron Collider ไอน์สไตน์ ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป กาลิเลโอ ฟิสิกส์อนุภาค วิศวกรรมวัสดุ เซมิคอนดักเตอร์ นาโนเมตร วัสดุนาโน วัสดุฉลาด วัสดุเชิงก้าวหน้า วัสดุชีวภาพ พอลิเมอร์ เซรามิก สเปกโตรสโกปี อุณหเคมี ไฟฟ้าเคมี เคมีเชิงฟิสิกส์ โลหะอินทรีย์เคมี เคมีพอลิเมอร์ เคมีนิวเคลียร์ ชีววิทยาโมเลกุล เคมีเวชภัณฑ์ เคมีดาราศาสตร์ เคมีไคเนติกส์ สารประกอบอนินทรีย์ สารประกอบเคมี สารประกอบ John Dalton ทฤษฎีโฟลจิสตัน อ็องตวน ลาวัวซีเย Robert Boyle ปฏิกิริยาเคมี รายชื่อคณะวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย เคมีสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม Social psychology วิทยาศาสตร์สังคม เทคนิคการแพทย์ เวชศาสตร์ พยาธิวิทยา เนื้องอกวิทยา ทัศนมาตรศาสตร์ Pharmacy บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ วิทยาศาสตร์พุทธิปัญญา สารสนเทศศาสตร์ วิทยาการสารสนเทศ สัตววิทยา วิทยาไวรัส ประสาทวิทยาศาสตร์ อณูชีววิทยา จุลชีววิทยา วิทยาภูมิคุ้มกัน มีนวิทยา มิญชวิทยา กีฏวิทยา Developmental biology วิทยาเซลล์ ชีววิทยาของเซลล์ วิทยาแผ่นดินไหว ชลธารวิทยา สมุทรศาสตร์ เคมีความร้อน เคมีไฟฟ้า เคมีการคำนวณ เคมีวิเคราะห์ Particle physics พลศาสตร์ของไหล พลศาสตร์ สวนศาสตร์ ฟิสิกส์เชิงทฤษฎี โป๊ป ความเรียง เรอเน เดส์การตส์ การสังเกต การทดลอง ฟรานซิส เบคอน กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ความรู้เชิงประจักษ์ คณิตตรรกศาสตร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย ไม้บรรทัด กระดูกนาเปียร์ ลูกคิด การแข่งขันคณิตศาสตร์ รางวัลอาเบล เหรียญฟิลด์ส ปัญหาของฮิลแบร์ท กลุ่มความซับซ้อน พี และ เอ็นพี ข้อความคาดการณ์ของปวงกาเร สมมติฐานความต่อเนื่อง

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
235
236
237
238
239
240
241
242
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 24187